ท่อส่งโล่ง เชื้อลด หมดตะกรัน รันระบบยาว ต้อง Soundronic
เครื่องเติมอากาศ (Surface Aerator) แบบทุ่นโดนัท มอเตอร์รอบเร็ว หลักการทำงานของเครื่องเติมอากาศบนผิวน้ำ( SURFACE AERATOR) นั้นจะเป็นการดึงน้ำจากก้นบ่อ ซึ่งก่อนการบำบัด สภาพน้ำจะอยู่ในสภาวะที่นิ่งและทับถมหนาแน่นด้วยสารแขวนลอยหรือตะกอนชนิดต่างๆในที่ ที่ปริมาณออกซิเจนน้อยมากถึงไม่มี คือต้นเหตุที่ทำให้เกิดของการเน่าเสียส่งกลิ่น หลังจากมีการใช้เครื่องเติมอากาศบนผิวน้ำ( SURFACE AERATOR) เข้าช่วยในการผสมอากาศ จากการกวนและจ้วงน้ำจากข้างล่างขึ้นมาลอยเหนือผิวน้ำเพื่อผสมกับอากาศและวนลงไปข้างล่าง ทำให้คุณภาพน้ำอยู่ในสภาวะปกติ และช่วยให้กลิ่นเหม็นเน่าหายไปในที่สุด(เนื่องจากเชื้อได้รับออกซิเจนเพียงพอต่อการย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำ) ; ทีมงานเวลกิ้นฯ มีประสบการณ์ในการบำบัดน้ำเสียโดยใช้การเติมอากาศมากกว่า 10ปี พร้อมมีทีมงานผู้เชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษา และออกแบบ ให้เหมาะสมกับพื้นที่บ่อเก็บน้ำ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์คือ ค่าDO ในปริมาณที่เหมาะสม และช่วยลดค่าพลังงานไฟฟ้า เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีต่อผู้ปฏิบัติงาน และประชาชนที่อาศัยโดยรอบ
หมวดหมู่ : ผลิตภัณฑ์ทั้งหมด ,  Equipment/อุปกรณ์ ,  งานด้านการบำบัดน้ำเสีย , 
Share
ระบบเติมอากาศในบ่อเลี้ยงเชื้อทั่วไป นิยมใช้ เครื่องปั๊มลม แบบ Root Blower และจานดิสก์ (Disc Diffuser) ในการกระจายอากาศ ใต้น้ำ แล้วให้ฟองอากาศลอยขึ้นมาเพื่อให้เชื้อจุลินทรีย์ที่ใช้ Oxygen(Aerobic Bacteria) ย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำเสีย จุดอ่อนของระบบเติมอากาศแบบนี้คือ อากาศจะลอยตัวไปเหนือผิวน้ำ และเคลื่อนที่ออกไปในบรรยากาศ, น้ำมีการเคลื่อนไหวน้อยมาก ไม่มีการสั่นสะเทีอน หรือ กวนน้ำให้เชื้อจุลินทรีย์คลุกเคล้ากระจายไปทั่วบ่อ และเครื่อง Root Blower มีอัตราการสิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้าสูงมาก และมีเสียงดัง สร้างมลพิษทางเสียงให้กับผู้ที่อยู่โดยรอบ , จานดิสก์ในระยะแรก ยังทำงานได้ดี ไม่มีการอุดตัน จนเวลาผ่านไป รูที่จานดิสก์จะเกิดการอุดตันเนื่องจากตะกอนในน้ำเสียไปอุดตัน ทำให้อากาศที่ปล่อยออกมาน้อยลงๆ จนกระทั่งรูตันจนอากาศไม่สามารถออกมาได้ จานดิสก์จะเกิดการระเบิดออกจากท่อเนื่องจากมีแรงดันสูง นี่คือปัญหาที่พบได้ทั่วไปในบ่อเติมอากาศ,
การนำ Surface Aerator แบบมอเตอร์รอบเร็วมาใช้ในการเติมอากาศในบ่อเลี้ยงเชื้อ เข้ามาช่วยแก้ไขจุดอ่อนนี้ได้ เนื่องจาก ในระบบการทำงานจะมีการดูดน้ำจากข้างใต้บ่อผ่านใบพัด และผ่านกลไกการตีน้ำให้เป็นละอองฝอยที่มีความละเอียดซึ่งละอองน้ำจะไปจับกับออกซิเจนในอากาศ แล้วละลายลงไปผสมกับน้ำเสียในบ่อ ทำให้จุลินทรีย์ในบ่อเลี้ยงเชื้อ ได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ และน้ำในบ่อมีการเคลื่อนตัว และ สั่นสะเทือนออกไปเป็นวงกว้าง(Turbulence) ทำให้เชื้อจุลินทรีย์สามารถย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำเสียได้อย่างมีประสิทธิภาพ , การดูแลบำรุงรักษาง่าย และที่สำคัญคือ ประหยัดค่าไฟฟ้าได้มากเมื่อเปรียบเทียบกับเครื่อง Root Blower
รับชมคลิปแสดงการทำงานของเครื่องเติมอากาศบนผิวน้ำ คลิปแสดงการทำงานเครื่องเติมอากาศบนผิวน้ำ
รับชมคลิปแสดงการทำงานของเครื่องเติมอากาศขนาด 3 แรงม้าคลิปแสดงการทำงานเครื่องเติมอากาศขนาดเล็ก 3 แรงม้า
การเปรียบเทียบค่าไฟฟ้าระหว่าง Surface Aerator แบบรอบช้า และรอบเร็ว
ประโยชน์ที่ได้รับจากการใช้งาน Surface Aerator Donut แบบรอบเร็ว
•ได้ค่า DO (Dissolved Oxygen) มากขึ้น , ทำให้บำบัดน้ำเสียได้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น
•ประหยัดค่าไฟฟ้าได้ > 1.3ล้านบาท ต่อปี( Root Blower 90KW เทียบกับ Surface Aerator 60 KW)
•ขจัดมลภาวะทางเสียงรบกวนดังจาก Root Blower
•การบำรุงรักษาง่าย ไม่ต้องถ่ายน้ำออก เพื่อเปลี่ยนจานเติมอากาศ (เดิมใช้จานเติมอากาศ ซึ่งประสบปัญหาการอุดตัน และหัวจานระเบิดออกจากท่อ, ทำให้อากาศที่ออกมาไม่เป็นฝอย แต่อากาศออกมาเป็นลูกๆ และระเหยไปในบรรยากาศอย่างรวดเร็ว)