บริการให้คำปรึกษาระบบบำบัดน้ำเสีย, ให้เช่าเครื่องรีดตะกอน screw press , เปลี่ยนจาก Root Blower เป็น Turbo Blower เพื่อลดค่าไฟฟ้า มาทำความรู้จักกับสารต้านอนุมูลอิสระ(Antioxidant) - welkinchemi

มาทำความรู้จักกับสารต้านอนุมูลอิสระ(Antioxidant)

239 จำนวนผู้เข้าชม  | 

อนุมูลอิสระ (Free Radicals) คือโมเลกุลหรืออะตอมที่สูญเสียอิเล็คตรอนไปทำให้เกิดความไม่เสถียรของพลังงานขึ้นในตัวมันเอง จึงเหนี่ยวนำให้เกิดปฏิกิริยาแย่งชิงอิเล็คตรอนจากโมเลกุลอื่นๆส่งผลให้โครงสร้างโมเลกุลอื่นๆเปลี่ยนแปลงผิดเพี้ยนไป โดยอนุมูลอิสระนั้นสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งจากปัจจัยภายในและภายนอกร่างกาย ดังนี้

อนุมูลอิสระภายในร่างกาย ส่วนใหญ่มาจากกระบวนการเผาผลาญในเซลล์เพื่อสร้างพลังงาน ที่หน่วยย่อยภายในเซลล์อันมีชื่อว่า ไมโตคอนเดรีย (Mitochondria) ดังนั้นถ้าเรารับประทานอาหารเข้าไปมากเกินความต้องการ ร่างกายจะเกิดการเผาผลาญมากขึ้น และสิ่งที่ตามมาก็คือเกิดอนุมูลอิสระที่มากขึ้นนั่นเอง
อนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นจากปัจจัยกระตุ้นภายนอกและส่งผลให้เกิดอนุมูลอิสระมากขึ้นในร่างกาย ได้แก่ รังสีUV ควันมลพิษ การสูบบุหรี่ การติดเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัส การรับประทานอาหารประเภทผัด ทอด ปิ้งย่าง รวมถึงภาวะความเครียดทั้งทางกาย (อดนอน อดอาหารลดน้ำหนัก ออกกำลังกายอย่างหนัก ) และทางใจ เป็นต้น

เมื่อเกิดอนุมูลอิสระขึ้นมา ร่างกายของเราจึงมีกลไลในการต่อสู้หรือกำจัดความเป็นพิษเหล่านี้ด้วยการสร้าง “สารต้านอนุมูลอิสระ หรือ Antioxidants” ขึ้นมาต่อต้านนั่นเอง  แต่หากเมื่อไรก็ตามที่ร่างกายของเรานั้นมีอนุมูลอิสระมากจนเกินกว่าความสามารถของสารต้านอนุมูลอิสระจัดการได้ เมื่อนั้นอนุมูลอิสระตัวร้ายก็จะเริ่มก่อกวนทำลายเซลล์ต่างๆในร่างกายอย่างช้าๆโดยที่เราไม่ทันรู้ตัว มีชื่อเรียกภาวะนี้ว่า “Oxidative Stress” และสิ่งที่จะตามมาก็คือโรคที่เกิดจากความเสื่อมของอวัยวะต่างๆ ได้แก่ โรคหัวใจ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง สมองเสื่อม ต้อกระจก โรคอ้วนหรือแม้กระทั่งโรคมะเร็ง เป็นต้น

ดังนั้น หากไม่อยากให้ร่างกายเสื่อมโทรมหรือดูแก่ก่อนวัย เราจึงควรรีบป้องกันก่อนที่เซลล์จะถูกทำลาย โดยการหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นอันก่อให้เกิดอนุมูลอิสระดังที่กล่าวข้างต้น และเพิ่มปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระจากการรับประทานผักและผลไม้ที่อุดมไปด้วย วิตามิน แร่ธาตุ และไฟโตนูเทรียนท์หลากหลายชนิด สำหรับทางเลือกในการดูแลสุขภาพที่เฉพาะเจาะจงมากขึ้น ด้วยเทคโนโลยีอันทันสมัยจึงทำให้เราสามารถตรวจหาระดับสารต้านอนุมูลอิสระในแต่ละชนิดได้ เช่น วิตามิน A,C,E, Lycopene, Beta-Carotene และ CoenzymeQ10 เป็นต้น ซึ่งจะช่วยให้เราเลือกเสริมสารอาหารที่จำเป็นและมีประโยชน์ต่อการป้องกันโรคได้อย่างแม่นยำและถูกต้องมากยิ่งขึ้น

สารต้านอนุมูลอิสระ (Anti-oxidant) เป็นสารประกอบสำคัญที่ช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยปกติแล้วในกระบวนการต่าง ๆ ในร่างกายจะสร้างของเสียออกมา ซึ่งของเสียหนึ่งในนั้นก็คือ สารอนุมูลอิสระ (Free radicals)​

 ​สารอนุมูลอิสระในร่างกายที่ได้รับมา อาจมาจากปัจจัยอื่น ๆ เช่น อายุที่มากขึ้น ความเครียด การนอนหลับไม่พอ มลพิษ ควันบุหรี่ แอลกอฮอล์ และอาหารแปรรูป ดังนั้นเราจึงจำเป็นที่จะต้องเพิ่มสารต้านอนุมูลอิสระ จากวิตามินและแร่ธาตุให้เพียงพอต่อการจับกับอนุมูลอิสระ เพื่อช่วยให้การทำงานของร่างกายและระบบภูมิคุ้มกัน ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ​

รูปที่1 Antioxidant mechanisms of bioactive compounds from natural sources

 

าทำความรู้จักกับสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) 3ตัว ได้แก่ Resveratrol, Quercetin, Curcumin ,ส่วนวิตามินC,D,E,Omega3,CoQ10,ALA จะนำมาลงในครั้งต่อไป

1. เรสเวอราทรอล (Resveratrol) สารสกัดจากองุ่น…ช่วยยืดอายุขัยของเซลล์

Resveratrol is a polyphonic  bioflavonoid  antioxidant that’s produced by certain plants and found in foods and drinks that are known to halt the effects of aging. Resveratrol is classified as a phytoestrogen because of its ability to interact with estrogen receptors in a positive way.

องุ่นประกอบด้วยสารสำคัญสองอย่างคือ เรสเวอราทรอล (Resveratrol) ซึ่งพบมากในผิวองุ่น และ OPC (Oligomeric, proanthocyanidin, Proanthocyanidin, Pycnogenol) พบมากในเมล็ด นักวิจัยจากฮาร์เวิร์ดได้ทำการทดลองแล้วพบว่า Resveratrol สามารถยืดอายุขัยของเซลล์ได้ โดยไปกระตุ้นยีน Sirtuin 2 ซึ่งเป็นยีนที่มีบทบาทในการยืดอายุเซลล์ให้มีชีวิตยืนยาว เรสเวอราทรอลยังมีประโยชน์ในการป้องกันโรคหัวใจ ช่วยยับยั้งการเกาะกันของเกล็ดเลือด ลดไขมันตัวไม่ดี (LDL Cholesterol) และป้องกันการเกิดมะเร็ง ผ่านการกระตุ้นยีนกดการทำงานของมะเร็งได้อีกด้วย ส่วนสาร OPC นั้น พบได้ในผลิตภัณฑ์พวก Grape seed extract มีการศึกษาพบว่า การรับประทาน OPC เปรียบเสมือนมีสารกันแดดจากภายใน เพราะ OPC ช่วยลดการถูกทำลายจากแสงยูวีของเซลล์ผิวหนังลงได้ถึง 15% และยังช่วยยับยั้งการเสื่อมสภาพของคอลลาเจนได้

ประโยชน์ของไวน์

ไวน์(Wine) เครื่องดื่มยอดนิยมทั่วโลก ที่มีรสชาติแตกต่างกันไปตามแหล่งผลิต ระยะเวลาการบ่ม รวมไปถึงชนิดของไวน์ ไม่ว่าจะเป็น ไวน์แดง (Red Wine) ไวน์ขาว (White Wine) ไวน์โรเซ่ (Rose Wine) เป็นต้น หลายคนสงสัยว่า ไวน์ จะมีประโยชน์ได้อย่างไร ดื่มไวน์เพื่อสุขภาพได้อย่างไร ทั้ง ๆ ที่เป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ นั้นเพราะวัตถุดิบหลักอย่าง องุ่น เป็นผลไม้ที่มีสรรพคุณมากมาย ที่ช่วยบำรุงร่างกายให้แข็งแรง และลดภาวะเสี่ยงจากโรคร้ายได้อีกด้วย การดื่มไวน์จึงให้ประโยชน์ได้ ดังนี้

1) ชะลอความแก่ Anti Aging

ด้วยสารต้านอนุมูลอิสระในไวน์แดง ช่วยป้องกันร่างกายจากความเสียหายจากอนุมูลอิสระ และจะชะลอกระบวนการชรา ไวน์แดง มีความเข้มข้นของสารต้านอนุมูลอิสระ ที่เรียกว่า โพลี มากกว่า เมื่อเทียบกับน้ำองุ่น

นักวิจัยสเปน แนะนำว่า การดื่มไวน์แดง อาจช่วยชะลอความแก่ หลังพบสารเมลาโทนินในผิวองุ่น รวมถึงอาหารอีกหลายชนิด เช่น หอมหัวใหญ่ ข้าว และเชอรี่ สามารถปกป้องเซลล์จากการถูกทำลาย ตามอายุขัยที่เพิ่มขึ้น ซึ่งควรจะเริ่มกินตั้งแต่อายุย่างเข้า 30 ปี เพราะไวน์แดง ชะลอความแก่ ได้จริง แล้วยังช่วยปรับปรุงสุขภาพหัวใจ แต่ก็ควรที่จะดื่มในปริมาณที่เหมาะสมเช่นกัน

2) ลดความเสี่ยงของโรคหัวใจ

สารเรสเวอราทรอล (Resveratrol) ในไวน์ ช่วยให้หัวใจแข็งแรง สารดังกล่าว ทำหน้าที่เปลี่ยนระดับไขมันคอเลสเตอรอลในเลือด เลือดไม่เกาะกันเป็นก้อน ลดปัญหาการอุดสันในเส้นเลือด ทำให้ลดความเสี่ยงที่เกิดโรคหัวใจได้ 30-40 %

การดื่ม ไวน์แดง ในปริมาณที่พอเหมาะ อย่างสม่ำเสมอทุกวัน เหมือนที่ชาวฝรั่งเศสปฏิบัติกันเป็นปกตินิสัย ทำให้ชาวฝรั่งเศส มีอัตราเสี่ยงต่อโรคหัวใจ  และโรคหัวใจล้มเหลวลดลงถึง 50%

ส่วนการดื่ม ไวน์ขาว นอกจากจะเป็นเครื่องดื่มที่สร้างความสดชื่นให้กับร่างกายแล้ว ยังทำให้อาหารทะเลมีรสชาติถูกปากอร่อยลิ้น ที่สำคัญมีสรรพคุณช่วยย่อยอาหาร และสามารถกำจัดพิษจากอาหารทะเล ที่เป็นอันตรายต่อระบบย่อยอาหารได้อย่างน่าอัศจรรย์ยิ่ง

3) ลดและป้องกันมะเร็ง

สารเรสเวอราทรอล (Resveratrol) เป็นสารต้านอนุมูลอิสระชนิดหนึ่ง ซึ่งพบได้ในองุ่น ราสเบอร์รี ถั่วลิสง และพืชอื่น ๆ มีหลักฐานว่า เรสเวราทรอลนั้น ลดอนุมูลอิสระ และลดอัตราการเกิดมะเร็งในสัตว์ทดลอง รวมทั้งลดการเจริญเติบโตของมะเร็ง ในถาดเพาะเชื้อได้ นอกจากนั้น ยังลดสารเอ็นเอฟ แคปปา บี (NF kappa B) ซึ่งเป็นโปรตีน ที่สร้างโดยระบบภูมิคุ้มกันที่ถูกกระตุ้นอีกด้วย ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า ดื่มไวน์ต้านมะเร็งได้

4) ลดปริมาณคอเลสเตอรอล

ในไวน์แดง มีแทนนิน หรือความฝาด ซึ่งนอกจากจะป้องกันการเกิดโรคหัวใจแล้ว ยังช่วยลดปริมาณคอเลสเตอรอลในเส้นเลือด หากมีคอเลสเตอรอลในเส้นเลือดมาก ๆ อาจทำให้เกิดการไหลเวียนของเลือดผิดปกติได้

5) ช่วยในการย่อย

อาหารประเภททอด อาหารแปรรูป จะมีสาร Malonaldehydes ซึ่งสารเหล่านี้ ส่งผลร้ายต่อระบบทางเดินอาหารให้แก่ร่างกาย มีการศึกษาพบว่า การดื่มไวน์แดง กับอาหารดังกล่าว ช่วยลบล้างสารเหล่านี้ได้ ถึงร้อยละ 60-70 ดังนั้น ความสามารถในการช่วยการทำลายสารเหล่านี้ ก็เป็นประโยชน์ในการย่อยอาหาร

6) ช่วยในลด และคลายความเครียด

ไวน์ช่วยเรื่องความเครียดได้ ไวน์เป็นยากล่อมประสาทชนิดหนึ่ง ช่วยให้ร่างกายรู้สึกผ่อนคลาย จึงช่วยลดความเครียด หรือคลายกังวล ทำให้นอนหลับพักผ่อนได้ยาวนานขึ้น

7) ป้องกันโรคความจำเสื่อม

นักวิจัยพบว่า ไวน์แดง ช่วยลดความจำเสื่อมได้ โดยสาร สารเรสเวอราทรอล (Resveratrol)  ในไวน์แดง มีผลในการป้องกันการเสื่อมของสมอง

ทีมงานวิจัยได้ศึกษาคอไวน์ 7,983 คน ซึ่งดื่มไวน์เป็นประจำ วันละ 1-3 แก้ว ระหว่างปี 1990-1999 พบว่าบุคคลดังกล่าว ไม่เป็นโรคอัลไซเมอร์ และ โรคพาร์กินสันแต่อย่างใด

8) สุขภาพเหงือก และฟัน

ไวน์มีคุณสมบัติต่อต้านแบคทีเรียในช่องปาก และนอกจากนี้ งานวิจัยแสดงให้เห็นว่า สารโพลีฟีน เป็นสารธรรมชาติที่พบในเมล็ดองุ่น และไวน์แดง จะมีคุณสมบัติ ช่วยในการต้านการอักเสบ ที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียของเหงือก หรือเหงือกอักเสบ

9) ไวน์ช่วยป้องกันโรคหวัด

ส่วนประกอบที่มีอยู่ในไวน์ ช่วยป้องกันหวัดได้ ศูนย์โรคหวัดแห่งมหาวิทยาลัย คาร์ดีฟ เคยมีรายงานว่า คุณสมบัติของสารต้านอนุมูลอิสระ หรือสารแอนตี้ออกซิแดนท์ อาจทำให้ไวน์แดง สามารถป้องกันหวัดได้ และยังมีผลการวิจัยอาสาสมัคร 4,000 คน เป็นเวลา 1 ปีพบว่า ผู้ที่ดื่มไวน์แดง มากกว่าวันละ 2 แก้ว เป็นหวัดน้อยกว่าคนที่ไม่ได้ดื่มไวน์เลยถึงร้อยละ 44

ดื่มไวน์อย่างไรให้ดีต่อสุขภาพ?

แม้ว่าการดื่มไวน์ อาจมีประโยชน์ต่อสุขภาพหลายประการ แต่การดื่มในปริมาณที่มากเกินไป ก็อาจส่งผลกระทบในทางลบได้ โดยปริมาณการดื่มไวน์อย่างเหมาะสม ที่แนะนำ คือ ผู้ชายควรดื่มไม่เกิน 2 แก้ว/วัน หรือประมาณ 250-300 มิลลิลิตร และผู้หญิงควรดื่มไม่เกิน 1 แก้ว/วัน  หรือประมาณ 125-150 มิลลิลิตร นั่นเอง

ดื่มไวน์มากไปส่งผลเสียต่อสุขภาพอย่างไร?

การดื่มไวน์ในปริมาณมากเกินไป อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพได้ ดังนี้

      *ติดสุรา การดื่มไวน์ หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ชนิดอื่น ๆ มากจนเกินไป อาจทำให้ไม่สามารถควบคุมตนเอง และปริมาณในการดื่มได้ จนอาจเกิดอาการติดสุรา

      *น้ำหนักตัวเพิ่มมากขึ้น ไวน์มีแคลอรี่มากถึง 2 เท่า เมื่อเทียบกับเบียร์ และน้ำอัดลม การดื่มไวน์มากเกินไป จึงอาจทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นได้

      *เสี่ยงเกิดโรค การดื่มไวน์ประมาณ 2-3 แก้ว/วัน จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคตับ และตับแข็ง ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้  และหากดื่มไวน์ 1-3 ครั้ง/สัปดาห์ หรือดื่มในปริมาณมากเกินไป อาจเพิ่มความเสี่ยงโรคเบาหวาน โรคซึมเศร้า และนำไปสู่การเสียชีวิตก่อนวัยอันควรได้

2. “เควอซิติน(Quercetin)” ตัวช่วยลดการอักเสบ บรรเทาภูมิแพ้

Quercetin, a plant pigment is a potent antioxidant flavonoid and more specifically a flavonol, found mostly in onions, grapes, berries, cherries, broccoli, and citrus fruits. It is a versatile antioxidant known to possess protective abilities against tissue injury induced by various drug toxicities.

เควอซิติน (Quercetin) เป็นชื่อของสารที่ถูกจัดอยู่ในกลุ่มของสารจำพวกฟลาโวนอยด์ (Flavonoids) มีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระ เพิ่มพลังงานให้กับเซลล์ ต้านการอักเสบ ต้านไวรัส ต้านมะเร็ง ช่วยบรรเทาอาการภูมิแพ้ และป้องกันไม่ให้เส้นเลือดตีบ

โดยปกติการอักเสบเป็นกระบวนการที่ร่างกายตอบสนองต่อสิ่งที่ทำให้เซลล์หรือเนื้อเยื่อของร่างกายได้รับบาดเจ็บ เรียกได้ว่า เป็นกระบวนการที่เป็นไปเพื่อกำจัดสิ่งแปลกปลอมหรือเชื้อโรคให้ออกไปจากร่างกาย แต่หากเกิดการอักเสบมากเกินไปจนทำให้เนื้อเยื่อถูกทำลายก็อาจส่งผลให้อวัยวะภายในล้มเหลวจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ แล้วการอักเสบก็เป็นสาเหตุของโรคส่วนใหญ่ รวมถึงโรคหัวใจ โรคมะเร็ง การอักเสบเรื้อรังบางครั้งอาจเป็นอันตรายต่อร่างกายและส่งผลต่อสุขภาพบางอย่างได้ ซึ่งควอซิตินจะช่วยลดการอักเสบที่เกิดขึ้น เพราะเควอซิตินเป็นสารต้านการอักเสบที่สำคัญ เนื่องจากทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระจะช่วยหยุดการทำลายของอนุมูลอิสระต่อระบบในร่างกาย ช่วยยับยั้งเซลล์ที่ทำให้เกิดการอักเสบให้ลดลง และมีกลไกในการยับยั้งการเข้าเซลล์ของไวรัสอีกด้วย

นอกจากเควอซิตินจะช่วยลดการอักเสบแล้ว ยังช่วยยับยั้งกระบวนการจำลองตัวเองของไวรัสหลายชนิด หรือที่เรารู้จักกันดี เช่น HIV และ ไรโนไวรัส ซึ่งเป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดโรคหวัด นั่นเพราะเควอซิตินจะออกฤทธิ์ไปก่อกวน S-protein บนผิวของไวรัส ไม่ให้เกาะกับตัวรับ ACE2 บนผิวเซลล์ในระบบทางเดินหายใจของมนุษย์ ทำให้ไวรัสไม่สามารถเพิ่มจำนวนภายในเซลล์ของมนุษย์ได้ อธิบายให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ ไวรัสไม่สามารถเข้ามารุกรานจนสร้างความรุนแรงต่อร่างกายของผู้ติดเชื้อได้นั่นเอง

 เควอซิติน ยังมีอีกคุณสมบัติหนึ่งที่สำคัญ คือ บรรเทาอาการภูมิแพ้ เพราะเควอซิตินเป็นยาต้านฮีสตามีน (Histamine) ตามธรรมชาติที่มีประสิทธิภาพ ช่วยบรรเทาอาการแพ้จากฤดูกาล การแพ้อาหาร รวมทั้งอาการหอบหืด ซึ่งปกติหากมีอาการแพ้ร่างกายจะมีการปล่อยฮีสตามีนออกมา เมื่อระบบภูมิคุ้มกันตรวจพบอาการแพ้ที่ทำให้ร่างกายรู้สึกอ่อนแอ ไม่แข็งแรงแล้ว เควอซิตินจะไปต่อสู้กับสารฮีสตามีนที่ก่อให้เกิดอาการแพ้และจะรักษาอาการเหล่านั้นให้ดีขึ้น เมื่อสามารถรักษาความเสถียรของการปล่อยสารฮีสตามีนในร่างกายได้แล้วก็จะสามารถบรรเทาอาการภูมิแพ้ต่างๆ เช่น ไอ น้ำตาไหล น้ำมูกไหล ลมพิษ ริมฝีปากหรือลิ้นบวม ให้ดีขึ้นได้อย่างชัดเจน นอกจากนี้เควอซิตินยังช่วยฟื้นฟูพลังงานที่สูญเสียไป ทำให้ร่างกายกระฉับกระเฉงขึ้นอีกด้วย

 โดยเควอซิตินจะพบได้มากในผักและผลไม้ ได้แก่ แอปเปิ้ล เบอร์รี หัวหอม ตังกุย ผักชี ผักชีลาว เป็นต้น เควอซิตินเป็นสารที่ร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์ขึ้นได้เอง จึงจำเป็นต้องรับจากการรับประทานอาหารหรือรับจากภายนอกเท่านั้น แม้จะได้รับเควอซิตินจากการทานผักและผลไม้ แต่ก็อาจไม่เพียงต่อระบบของร่างกาย การเสริมด้วยอาหารเสริมเควอซิตินก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ดี เพื่อให้ระบบในร่างกายสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและป้องกันโรคต่างๆ ที่อาจตามมาจากการขาดเควอซิตินได้

 จะเห็นได้ว่า เควอซิตินมีประโยชน์อย่างมาก ทั้งช่วยลดการอักเสบ ช่วยยับยั้งการเข้าเซลล์ของไวรัส ช่วยบรรเทาอาการภูมิแพ้ ช่วยลดความดันโลหิต ลดระดับไขมันและน้ำตาลในเลือด และยังเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกายอีกด้วย ดังนั้นจะมัวรอช้าไม่ได้ เพื่อสุขภาพที่ดีเราควรลองหาเควอซิตินมาลองทานกันดูนะ


3. เคอร์คิวมิน (Curcumin) สารสำคัญในขมิ้นชัน

เคอร์คิวมินเป็นที่รู้จักกันดีว่ามีประโยชน์ต่อสุขภาพหลายประการ โดยมีฤทธิ์ช่วยต้านอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบ ต้านเชื้อไวรัสและแบคทีเรีย และช่วยชะลอความเสี่ยงการเกิดโรคอัลไซเมอร์ได้อีกด้วย หากแต่เคอร์คิวมินถูกดูดซึมได้น้อยและคงเหลืออยู่ในร่างกายไม่มากนัก เพราะถูกตับกำจัดออกจากร่างกายอย่างรวดเร็ว ​

Curcumin, a polyphenol, has been shown to target multiple signaling molecules while also demonstrating activity at the cellular level, which has helped to support its multiple health benefits. It has been shown to benefit inflammatory conditions, metabolic syndrome , pain, and to help in the management of inflammatory and degenerative eye conditions. In addition, it has been shown to benefit the kidneys.

อย่างไรก็ตามมีงานวิจัยพบว่าเราสามารถเพิ่มระดับเคอร์คิวมินในกระแสเลือดให้สูงขึ้นได้ โดยรับประทานคู่กับอาหารต่อไปนี้​

​-พริกไทย​

พริกไทยดำ มีสารชนิดหนึ่งเรียกว่า ‘พิเพอริน’ (Piperine) ซึ่งเป็นสารแอลคาลอยด์ มีผลต่อความเผ็ดร้อนของพริกไทย ตัวพิเพอรินเองมีประโยชน์ต่อสุขภาพในหลายด้าน เช่น บรรเทาอาการคลื่นไส้ ปวดหัว อาหารไม่ย่อย และยังมีฤทธิ์ช่วยต้านอักเสบ แต่สิ่งที่สำคัญคือพริกไทยดำ ช่วยเพิ่มการดูดซึมเคอร์คิวมินเข้าสู่ร่างกาย และยับยั้งกระบวนการกำจัดเคอร์คิวมินโดยตับ ​

-เสริมผักและผลไม้​

เนื่องจากในผักและผลไม้หลายชนิดมีสารเควอซิทิน (Quercetin) ซึ่งเป็นสารประกอบฟลาโวนอยด์ เราพบเควอซิทินอยู่ในผักผลไม้จำพวกเบอร์รี่ มะเขือเทศ องุ่น ชาเขียว ซึ่งเควอเซอทินช่วยทำให้เคอร์คิวมินดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดได้ดีขึ้น และช่วยยับยั้งเอนไซม์ที่ทำลายเคอร์คิวมินได้​
 
-รับประทานพร้อมไขมันดี​

เพราะเคอร์คิวมินสามารถละลายได้ดีในไขมัน เพราะฉะนั้นการเพิ่มไขมันชนิดดีในอาหาร เช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันรำข้าว ถั่วเปลือกแข็ง อย่างเม็ดมะม่วงหิมพานต์ ถั่วลิสง อาจช่วยเพิ่มการดูดซึมเคอร์คิวมินเข้าสู่ร่างกายได้มากยิ่งขึ้น​

ดังนั้นการรับประทานขมิ้นชันเพื่อให้ได้ประโยชน์จากสารเคอร์คิวมินสูงสุด จึงเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยเสริมสร้างสุขภาพของเราให้แข็งแรง ป้องกันการเจ็บป่วยจากเชื้อไวรัสและแบคทีเรีย และชะลอความเสี่ยงของการเกิดโรคอื่น ๆ ได้อีกด้วย​

3 เมนูแนะนำเพื่อสุขภาพ ที่มีคุณประโยชน์จากเคอร์คิวมิน

1)ซุปฟักทอง

2)ปลาผัดขมิ้น

3)ชาขมิ้นชัน

 

*ขอขอบคุณเพจโรงพยาบาลพญาไท,National Library of Medicine,onlinelibrary.wiley.com และอื่นๆ ที่ไม่ได้กล่าวถึงครับ

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้